สำรวจราคา ค่าจ้างดูแลผู้ป่วยติดเตียง

posted in: บทความ 1
ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

พาสำรวจราคา ค่าจ้างดูแลผู้ป่วยติดเตียง

พาสำรวจอัตราค่าบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

     การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่ละเอียดอ่อน และใช้ความอดทนอย่างสูง เนื่องจากเป็นงานที่ต้องอยู่กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตลอดเวลา จึงทำให้ผู้ดูแลเกิดความเหนื่อยล้าทางกาย และทางจิตใจไม่น้อย การใช้บริการจัดหาคนดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์จึงเป็นการช่วยลดภาระความเครียดทางจิตใจของผู้ดูแล

ผู้ป่วยติดเตียงคือใคร
     ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่มีสภาวะร่างกายเสื่อมโทรมไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ โดยสาเหตุสามารถเกิดได้จากทั้งอาการป่วยเรื้อรัง โรคร้ายแรง อุบัติเหตุ การเสื่อมถอยของร่างกาย หรือการผิดปกติของระบบประสาท สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจะทำให้ร่างกายผู้ป่วยอ่อนแอลงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือช่วยเหลือตัวเองได้เล็กน้อย จนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา

     การที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และต้องนอนอยู่บนเตียงนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอาการ หรือโรคแทรกซ้อนตามมามากมาย เช่น แผลกดทับ กล้ามเนื้อฝ่อลีบ การติดเชื้อในระบบต่าง ๆ เป็นต้น โดยผู้ป่วยติดเตียงสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้

  1. กลุ่มสีเขียว คือผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้าง สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เองเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจต้องอาศัยผู้ดูแลคอยช่วยดูแลในบางเรื่อง
  2. กลุ่มสีเหลือง คือผู้ป่วยติดเตียงที่อาการอัมพฤกษ์ แขน ขาอ่อนแรง ยังพอเคลื่อนไหวร่างกาย และดูแลตัวเองได้บ้างเล็กน้อย สามารถลุกขึ้นนั่ง หรือพลิกตัวเองได้ แต่ต้องอาศัยผู้ดูแลคอยช่วยเหลือในหลาย ๆ เรื่อง เช่น การป้อนข้าว  หรือการดูแลความสะอาดร่างกาย
  3. กลุ่มสีแดง คือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยเหลือตนเองได้เลย เป็นได้ทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัว หรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ ต้องอาศัยผู้ดูแลในการใช้ชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่ช่วยพลิกตัว ขยับร่างกาย จึงต้องระวังเรื่องแผลกดทับ และโรคแทรกซ้อนเป็นพิเศษ

     การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในแต่ละกลุ่มล้วนแตกต่างกันออกไป ผู้ดูแลต้องมีความรู้ ความเข้าใจว่าผู้ป่วยนั้นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้บ้าง และมีเรื่องอะไรที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ นอกจากนั้นการดูแลผู้ป่วยติดเตียงยังต้องใช้ความละเอียดอ่อนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคลอีกด้วย ซึ่งการดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ติดเตียงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังดังต่อไปนี้

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

  1. แผลกดทับ
    แผลกดทับเกิดจากการที่ผู้ป่วยติดเตียงนั้นทำได้แค่นอนอยู่กับที่เป็นเวลานานจนเกิดการกดทับขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณผิวหนังทำให้เซลล์บางตัวตายกลายเป็นแผลเรื่อย ๆ ในระยะแรกอาจเกิดการลอกแค่บริเวณผิว แต่พอเป็นแผลกดทับนานเข้าก็จะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ และลามไปถึงชั้นกระดูก ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อและรุนแรงถึงชีวิตได้ สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดตั้งแต่ ท้ายทอย สะบัก ศอก สะโพก กระดูกก้นกบ ไปจนถึงส้นเท้า จึงควรพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป ไม่ให้ค้างท่าหนึ่งท่าใด เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  2. การรับประทานอาหาร
    การรับประทานเป็นอีกสิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจากผู้สูงอายุที่ติดเตียงส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอย ทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการสำลักอาหารในผู้สูงอายุ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลม จนไปอุดตันทางเดินหายใจ หรือทำให้ปอดอักเสบ และติดเชื้อได้
  3. ความสะอาด
    อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะความสกปรกเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคชั้นดีที่เพิ่มโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยได้โดยง่าย จึงควรดูแลความสะอาดอย่างใกล้ชิดตั้งแต่สุขภาพช่องปาก เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก สาเหตุของการติดเชื้อที่หัวใจ และปอด ไปจนถึงการทำความสะอาดอวัยวะขับถ่าย และสังเกตลักษณะของเสียที่ออกจากร่างกาย
  4. สุขภาพจิต
    นอกจากปัญหาเรื่องสุขภาพจากความเสื่อมถอยของร่างกายแล้ว สภาพจิตใจของผู้ป่วยติดเตียงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องดูแลเอาใจใส่เช่นกัน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนเมื่อต้องมานอนติดเตียงอยู่เฉย ๆ มักเกิดความเบื่อหน่าย และความรู้สึกด้านลบ ผู้ดูแลจึงต้องหากิจกรรมต่างๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลาย และลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้สุขกายดีขึ้นตามไปด้วย

     การดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยตนเองที่บ้านนั้นอาจสร้างภาระทั้งทางกาย และทางใจให้กับผู้ดูแลที่เป็นลูกหลานได้โดยง่าย ทั้งเรื่องข้อจำกัดของเวลาจากหน้าที่การงาน และหน้าที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน จนเกิดความเครียดสะสม กลายเป็นภาวะ Burnout หรืออาการหมดไฟในการดูแล ดังนั้นบริการจัดหาคนดูแลผู้สูงอายุ และดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้านจึงเป็นอีกทางเลือกที่เข้ามาช่วยเหลือ ทั้งตัวผู้ป่วยติดเตียง และผู้ดูแล

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน อัตราค่าบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
     ปัจจุบันบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีมากมายหลายแพ็กเก็จการดูแล อย่าง ศูนย์เชียร์อัพ เนอร์สซิ่งแคร์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ที่มีบริการเหมาจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปี โดยค่าใช้จ่ายของศูนย์เชียร์อัพ เนอร์สซิ่งแคร์ในบริเวณกรุงเทพ และปริมณฑลเริ่มต้นอยู่ที่ 10,000 -20,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระดับของอาการติดเตียง ราคาจะสูงขึ้นตามความหนักเบาของอาการต่าง ๆ 

     การบริการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น อัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละเคส พยาบาลดูแลผู้สูงอายุที่มาช่วยเหลือมีทั้งผู้ดูแลที่ได้รับการอบรมด้านการดูแลผู้ป่วยติดเตีย งและผู้สูงอายุ ผู้ช่วยพยาบาล ไปจนถึงพยาบาลวิชาชีพ ราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามลำดับ โดยส่วนมากแล้วราคาจะเริ่มต้นที่ 700 บาท ไปจนถึง 2,000 บาท ต่อวัน หรือ 15,000 – 30,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับลักษณะ และอาการความหนักเบาของแต่ละเคส 

     “ศูนย์เชียร์อัพ เนอร์สซิ่งแคร์” ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ผู้เชี่ยวชาญในการจัดหาคนดูแลผู้สูงอายุ พยาบาลดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมืออาชีพ อีกทางเลือกที่ดีสำหรับดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวที่คุณรัก ช่วยแบ่งเบาภาระ ลดความเครียด และวิตกกังวลในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน ด้วยบริการดูแลระดับมืออาชีพ ให้บริการรับดูแลผู้ป่วยติดเตียง รายวัน-รายเดือน รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน รับจ้างดูแลผู้สูงอายุ รายวัน-รายเดือน รับเฝ้าไข้ตามโรงพยาบาล รายวัน บริการจัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุประจำบ้าน และโรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้บริการจัดหาพยาบาลดูแลผู้สูงอายุเพื่อดูแลคนที่คุณรัก ทั้งแบบประจำ และแบบไป-กลับ ในราคามาตรฐาน คุ้มค่า ไว้ใจได้ เพื่อให้ผู้ป่วย และสมาชิกในครอบครัวมีความสุขทั้งร่างกาย และจิตใจมากที่สุด

ติดต่อบริการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง จากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
รับเฝ้าไข้ตามโรงพยาบาล รายวัน รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ราคาคุ้มค่า โดยผู้เชี่ยวชาญ

โทรศัพท์ : 095-320-1744, 095-848-2656
E-Mail : cheerup.nursingcare@gmail.com

  1. สมเกียรติ พ
    | ตอบกลับ

    ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีดี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *