ดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้สุขภาพดีทั้งกาย-ใจ

posted in: บทความ 0

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้สุขภาพดีทั้งกาย-ใจ

5 วิธี ดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้สุขภาพดีทั้งกาย และใจ

เป็นเรื่องธรรมดาที่พยาบาลดูแลผู้สูงอายุ หรือลูกหลานที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงมักจะต้องเจอปัญหาที่ผู้ป่วยมักจะเอาแต่ใจ หรือบางรายถึงขั้นไม่ยอมพูด ไม่ยอมรับประทานอะไรจนอาการหนักซูบผอม ไม่มีเรี่ยวแรงอยากทำอะไร เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้เข้ามามาก ๆ ลูกหลานที่ดูแลก็จะพลอยหงุดหงิดเสียอารมณ์ไปด้วย ถึงขั้นเสียสุขภาพจิตกันเลยทีเดียว
ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยที่ติดเตียงควรจะดูแลทั้งในเรื่องของสุขภาพ และจิตใจ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุรู้สึกน้อยใจในตัวเองที่ต้องมาเป็นภาระลำบากลูกหลาน ด้วยความคิดเหล่านี้ที่สะสมอาจทำให้ตัวผู้ป่วยเองหมดกำลังใจ และเสียสุขภาพจิตได้เหมือนกัน

ซึ่งในยุคนี้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็มีนวัตกรรมเข้ามารองรับช่วยเหลือมากมาย เพราะผู้ป่วยติดเตียงมีปัจจัยเสี่ยงมากมายไปหมด เช่น เสี่ยงเป็นแผลกดทับ สาเหตุเนี่ยก็เกิดจากผู้ป่วยติดเตียงที่นอนนาน ๆ ทำให้บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ เกิดการขาดเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนัง เซลล์บนผิวหนังบางตัวก็ตาย และเกิดเป็นแผลกดทับได้ เมื่อเป็นแผลกดทับก็จะเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย บริเวณที่พบบ่อย สะบัก ศอก สะโพก หรือส้นเท้าแล้วแต่บุคคล ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงกำชับเรานักหนาว่าให้ปรับเปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วย จับพลิกตัวไปมาเพื่อให้เลือดได้ไปหล่อเลี้ยงได้ทั่ว หรือดูแลไม่ให้ผิวหนังเกิดความชื้น

นอกจากทางกายภาพยังมีขั้นตอนอีกมากมายที่พยาบาลดูแลผู้สูงอายุ หรือลูกหลานต้องใส่ใจ แต่สิ่งสำคัญไปกว่านั้น คือการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้สุขภาพดีทั้งร่างกาย และจิตใจ และในวันนี้ ศูนย์เชียร์อัพ เนอร์สซิ่งแคร์ จะมาแชร์วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้สุขภาพดีทั้งร่างกาย และจิตใจ เพื่อให้การดูแลเต็มไปด้วยประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม

1.ใส่ใจอาหารในทุกมื้อ ทานให้ครบ 5 หมู่
อย่างแรกจุดเริ่มต้นของสุขภาพจิตใจ และสุขภาพร่างกายที่ดี คือ การกินดีมีประโยชน์ เพราะร่างกายจะได้รับสารอาหารและนำไปหล่อเลี้ยงระบบการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น และก็จะส่งผลให้สุขภาพจิตดีตามไปด้วย อีกอย่างผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถลุกมาออกกำลังกาย เคลื่อนไหวได้แบบคนทั่วไป ทำให้การใช้พลังงานก็น้อยลง หากเลือกรับประทานแต่ของมันของทอด ก็จะทำให้เข้าไปสะสมในร่างกายมาขึ้น เสี่ยงโรคอื่น ๆ เกิดตามมาแทรกซ้อนอีกด้วย ดังนั้นอาหารที่เหมาะสมที่สุด ก็คงต้องเป็นหมวดหมู่ของ โปรตีนจากเนื้อปลา และการประกอบอาหารก็เปลี่ยนมาเป็นกรรมวิธี ต้ม นึ่งแทน หากผู้ป่วยน้ำหนักเพิ่มขึ้นก็ส่งผลต่อพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ หรือลูกหลานเช่นกัน เห็นไหมว่าแค่เลือกอาหารผิดก็ส่งผลกระทบทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแลได้

2.สภาพแวดล้อมต้องสดใส น่าอยู่
ไม่ว่าจะใครก็ตามตัวเราเอง หรือว่าผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ก็อยากที่จะอยู่จะเห็นในสิ่งแวดล้อมดี ๆ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงควรอยู่ในห้องหรือพื้นที่ ที่มีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัย อากาศถ่ายเท สดชื่น เพราะจะเป็นผลดีทั้งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต ซึ่งแน่นอนว่าผู้ป่วยที่ติดเตียงต้องจำกิจวัตรในห้อง ๆ นั้น ก็อาจจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เหม็นอับได้ ควรมีลมถ่ายเท มีหน้าต่างบานใหญ่ให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ในห้องก็อาจจะปรับภูมิทัศน์ภายในห้องให้ปลอดโปร่ง สะอาด มีต้นไม้เล็ก ๆ แจกันดอกไม้ที่สดใส ทำให้บรรยากาศน่าอยู่ ไม่หดหู่ หมั่นทำความสะอาด ดูดฝุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจ

3.มอบกำลังใจ และสายใยผูกพัน
โดยธรรมชาติความคิดของผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ มักจะชอบคิดว่าตนเองนั้นเป็นภาระ หรือลำบากลูกหลาน จนทำให้รู้สึกน้อยใจเป็นทุนอยู่แล้ว และถ้าลูกหลานปฏิบัติ หรือมีพฤติกรรมที่แสดงสื่อไปในทาง รำคาญ เป็นภาระ ก็จะยิ่งทำให้อาการทรุดหนักลงทั้งร่างกาย และจิตใจ ซึ่งวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือหมั่นชวนพูดคุยด้วยถ้อยคำดี ๆ แชร์ประสบการณ์เรื่องราวที่ดีในแต่ละวันให้ได้มีปฏิสัมพันธ์ส่วนร่วมกัน หรือการหากิจกรรมดูทีวีด้วยกัน ก็จะทำให้จิตใจของผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นได้ในทุก ๆ วัน ที่สำคัญไม่ว่าคนดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ ไม่ว่าคุณจะเป็นพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ หรือลูกหลาน ก็ต้องให้เกียรติ และความสำคัญไม่แพ้คนทั่วไป แค่การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่นี้ก็ช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงมีร่างกาย และจิตใจที่แข็งแรง

4.หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย
ผู้ป่วยติดเตียงมักจะมีความเสี่ยง สามารถเกิดภาวะเจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย เพราะไม่ได้ทำการขยับ เคลื่อนไหว อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ช้าลง มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนสูง ดังนั้นผู้ดูแลต้องหมันตรวจเช็คความผิดปกติเสมอ อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร แผลกดทับ อาหารไม่ย่อย ท้องอืด หรือเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ให้รีบพบแพทย์ทันที การหมั่นสังเกต หรือตรวจเช็คอยู่บ่อย ๆ จะช่วยป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้

5.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม
ผู้ดูแลต้องไม่ละเลย และควบคุมการรับประทานยาของผู้ป่วยติดเตียงเสมอ เนื่องจากยาบางตัวอาจจะเสื่อมคุณภาพ หมดอายุการใช้งาน อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของร่างกาย จนอันตรายถึงชีวิตก็เป็นได้ ดังนั้นการใช้งานทุกชนิดควรผ่านการอนุญาตจากแพทย์เสมอ

เห็นไหมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้แข็งแรงทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มีความละเอียดอ่อนสูงมาก มีความเสี่ยง และจุดที่ต้องระวังมากมายไปหมด ดังนั้นการดูแลจึงต้องเกิดจากความรู้ความเต็มใจ จึงจะทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีความสุข และร่างกายแข็งแรงขึ้นได้เรื่อย ๆ และสำหรับบุตรหลานท่านใด กำลังเป็นกังวลอยากได้คนมาดูแลคนที่คุณรักที่ ศูนย์เชียร์อัพ เนอร์สซิ่งแคร์ เราคือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พร้อมให้บริการหาคนดูแลผู้สูงอายุ, พยาบาลดูแลผู้สูงอายุ, ดูแลผู้ป่วยติดเตียง, รับเฝ้าไข้ตามโรงพยาบาล รายวัน, จัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุ, รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน, รับดูแลผู้ป่วยติดเตียง รายวัน-รายเดือน, รับจ้างดูแลผู้สูงอายุ รายวัน-รายเดือน บริการจัดหาพี่เลี้ยงเด็ก บริการจัดหาแม่บ้าน แม่ครัว ประจำบ้านและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้บริการจัดหาผู้ช่วยดูแลคนที่คุณรัก ทั้งแบบประจำและแบบไป-กลับ ในราคามาตรฐาน คุ้มค่า ไว้ใจได้ เราให้ความสำคัญเรื่องการฝึกอบรมพนักงานพยาบาลดูแลผู้สูงอายุอย่างเข้มข้น คุณจึงมั่นใจได้ทุกครั้งเมื่อเลือกใช้บริการหาคนดูแลผู้สูงอายุจากเรา เอาใจใส่ทั้งร่างกาย จิตใจ และโภชนาการ เพื่อให้ผู้ป่วย และสมาชิกในครอบครัวมีความสุขทั้งร่างกาย และจิตใจมากที่สุด

ติดต่อบริการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง จากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
รับเฝ้าไข้ตามโรงพยาบาล รายวัน รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ราคาคุ้มค่า โดยผู้เชี่ยวชาญ

โทรศัพท์ : 095-320-1744, 095-848-2656
E-Mail : cheerup.nursingcare@gmail.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *