วิธีดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง

posted in: บทความ 0

ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

เรื่องน่ารู้เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ไม่สามารถขยับตัวได้เอง หรืออาจขยับได้เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองและลุกมาทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น รับประทานอาหาร รับประทานยา เข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย หรือทำความสะอาดร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรง ทำให้สมองหรือกระดูกสันหลังถูกกระทบกระเทือน หรือการผ่าตัดใหญ่ เหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเตียงได้

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงมีความสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยติดเตียงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำได้เอง จึงต้องใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ซึ่งหากดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ดีพอ ปัสสาวะ อุจจาระ อาจเกิดการหมักหมมทำให้เชื่อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดการติดเชื้อได้ หรือภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างที่พบได้บ่อยคือแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนตลอดเวลา อาจทำให้บริเวณที่สัมผัสกับเตียงโดยเฉพาะด้านที่มีกระดูก เช่น สะโพก ก้นกบ ถูกกดทับจนเกิดแผล หากปล่อยไว้นอกจากผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดแล้ว ยังมีโอกาสทำให้เนื้อตาย และทำให้เกิดการติดเชื้อจากแผลกดทับได้ ผู้ป่วยติดเตียงบางรายอาจเกิดการติดเชื้อเข้ากระแสเลือดทำให้เสียชีวิตได้เลย

และกรณีผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นผู้สูงอายุด้วยแล้ว ก็ยิ่งควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ แต่หากลูกหลานไม่มีเวลา เนื่องจากต้องทำงาน หรือเรียนหนังสือ หรือติดภารกิจต่าง ๆ ก็จำเป็นจะต้องหาคนรับดูแลผู้ป่วยติดเตียง รายวัน-รายเดือน หรือหากผู้ป่วยติดเตียงยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลก็ควรจะต้องหาคนรับเฝ้าไข้ตามโรงพยาบาล รายวัน หรือพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ เพราะบุคคลากรด้านนี้จะมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีทักษะและความชำนาญมากกว่าบุคคลทั่วไป

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหารในท่านอน อาจทำให้ผู้ป่วยสำลักอาหาร อาหารติดคอหรือหลุดเข้าหลอดลมได้ ทำให้ขาดอากาศหายใจ ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารในท่านั่ง อาจใช้หมอนช่วยหนุนบริเวณหลังไว้ และหลังรับประทานอาหาร ควรให้นั่งในท่าเดิม ประมาณ 1-2 ชม. เพื่อรอให้อาหารย่อยก่อน ป้องการการเกิดกรดไหลย้อน หากมียาที่ต้องรับประทาน ควรจัดให้รับประทานก่อนหรือหลังอาหารตามที่แพทย์ระบุไว้อย่างเคร่งครัด
การขับถ่าย
กรณีผู้ป่วยติดเตียงใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ให้ผู้ป่วยบ่อย ๆ กรณีอุจจาระต้องเปลี่ยนทันที และเช็ดทำความสะอาดให้ถูกต้องตามหลัก คือเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพราะหากปล่อยให้ของเสียหมักหมม หรือทำความสะอาดไม่ถูกวิธี นอกจากผู้ป่วยจะเกิดการอับชื้น ผื่นคัน บริเวณผิวหนังร่มผ้า ยังอาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และในผู้ป่วยหญิงยังมีโอกาสติดเชื้อทางช่องคลอดได้อีกด้วย ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงควรใส่ใจทำความะอาดอยู่เสมอ
กรณีผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในร่างกาย ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์และระมัดระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ นอกจากนั้นผู้ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ยังต้องสังเกตสีและลักษณะของปัสสาวะ อุจจาระ ของผู้ป่วยด้วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ถ่ายเหลว หรือมีเลือดปนในปัสสาวะ อุจจาระหรือไม่ เพราะหากเกิดความผิดปกติจำเป็นจะต้องรายงานแพทย์ที่ดูแลโดยเร็วที่สุด หรือบางกรณีอาจจะต้องคอยจดบันทึกการดื่มน้ำและขับถ่ายตามตารางที่แพทย์กำหนดด้วย
การนอน
เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงมักจะนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ หลายชั่วโมง และไม่สามารถพลิกตัวได้เอง อาจทำให้เกิดแผลกดทับดังที่กล่าวไปข้างต้น ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ควรช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชม. โดยการพลิกตัวผู้ป่วยให้นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา เพื่อไม่ให้ด้านใดด้านหนึ่งเกิดแรงกดทับกับเตียงเป็นเวลานานเกินไป จนเกิดเกิดแผลกดทับ

การฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง

1. การทำกายภาพบำบัด
เมื่อผู้ป่วยติดเดียงนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา กล้ามเนื้อแขนขาจะอ่อนแรง และลีบได้ เพราะไม่ได้ถูกใช้งาน จึงต้องมีการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยติดเตียง ให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง มีพละกำลังขึ้น โดยต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะ เพราะหากทำไม่ถูกวิธี อาจเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเกิดอุบัติเหตุได้
2.การดูแลสุขภาพจิต
ผู้ป่วยติดเตียงมักมีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ เพราะนอกจากต้องประสบความเจ็บปวดจากอาการป่วยแล้ว การที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ยังทำให้เกิดความเครียดสะสม ในบางรายอาจมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงควรหากิจกรรมเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดให้ผู้ป่วย ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ชวนคุย เปิดเพลงสบาย ๆ หรืออ่านหนังสือให้ฟัง หากมีโอกาสควรพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสัมผัสอากาศนอกห้องบ้าง เช่น หน้าบ้าน หรือสวนหย่อมในละแวกบ้าน หรือในโรงพยาบาลที่รักษา เพื่อให้ร่างกายสดชื่นและผ่อนคลายขึ้น

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นงานที่หนักและเหนื่อยพอสมควร ทั้งยังต้องมีความรู้ความชำนาญในการบริบาลผู้ป่วย ศูนย์เชียร์อัพ เนอร์สซิ่งแคร์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน รับดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ให้บริการรับจ้างดูแลผู้สูงอายุ รายวัน-รายเดือน และให้บริการจัดส่งพนักงานดูแล ผู้สูงอายุ ให้บริการด้วยใจ จัดส่งถึงสถานที่ สะดวก รวดเร็ว รับดูแลผู้ป่วยติดเตียง, รับดูแลผู้ป่วยติดเตียง รายวัน, รับเฝ้าไข้ตามโรงพยาบาล รายวัน โดยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาโดยตรงและจัดอบรมผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลผู้สูงอายุ เอาใจใส่ทุกรายละเอียด สามารถติดตามวัดผลได้ พร้อมให้บริการทั่วประเทศ มั่นใจได้ว่าคนที่คุณรักจะได้รับการดูแลและการบริการที่ดี ได้มาตรฐานและปลอดภัยอย่างแน่นอน

ศูนย์เชียร์อัพ เนอร์สซิ่งแคร์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

บริการจัดส่งพนักงานดูแล ผู้สูงอายุ, ดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุมืออาชีพ
โทรศัพท์ : 095-320-1744, 095-848-2656
LINE : http://line.me/ti/p/~0958482656
Facebook : https://facebook.com/profile.php?id=100086044088593
E-Mail : cheerup.nursingcare@gmail.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *